วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่1-2 วิชาการเงินส่วนบุคคล


วิชาการเงินส่วนบุคล
************************************************

หน่วยที่ 1
ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล
1.ความหมายของเงิน
2.หน้าที่ของเงิน
3.ธรรมชาติของเงิน
4.พัฒนาการของเงิน

5.บทบาทของเงิน
หน่วยที่ 1
ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลเงิน คือสิ่งที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการชำระสินค้าหรือการปลดเปลื้องพันธะทางธุรกิจ ( โรเบิร์ตสัน )
เงิน เป็นเครื่องมือซึ่งทุกคนเห็นชอบร่วมกันว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าชนิดหนึ่งกับสินค้าชนิดอื่น ( ฮูม )
เงิน คือสิ่งที่สังคมยอมรับเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมถึงใช้ในการชำระหนี้ในปัจจุบันและอนาคตหน้าที่ของเงิน

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า
3. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต
4. เป็นเครื่องมือรักษามูลค่า
5. เป็นสิ่งชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
6. เป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า
ธรรมชาติของเงิน
เงินเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการเงินที่ได้มาง่าย ก็เสียไปง่าย
-เงินรางวัล
-โบนัส -มรดก
-กำไรพิเศษ กำไรจากการขายที่ดิน
- กำไรจากหุ้น
-เงินที่ได้มาฟรีๆถ้ามีเงินถึงจุดหนึ่งคนจะเริ่มอยากรวย
- การเก็บออมพัฒนาการของเงิน 4 ระยะ
1. เงินเป็นสิ่งของหรือสินค้า (ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ) ได้แก่ เครื่องประดับ ลูกปัด กระดูกสัตว์ ใบชาผ้าขนสัตว์ หนังสัตว์ หินสีต่างๆ
2. เงินกษาปณ์ มีการประดิษฐ์เงินที่ทำด้วยโลหะต่างๆที่มีคำและชั่งน้ำหนักของโลหะให้มีค่าเทียบเท่ากับเงิน เช่น ทองคำ โลหะเงิน มีการนำโลหะมาหลอมให้มีรูปแบบต่างๆ เพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยนจีนหลอมเหรียญบรอนซ์รูปจอบโรมันและกรีกผลิตเงินกษาปณ์ที่มีรูปร่างกลม แบนใช้เป็นครั้งแรกก่อนคริสต์ศักราช 300-600 ปีและเป็นแบบมาตรฐานจนถึงปัจจุบันพัฒนาการของเงิน
3. เงินกระดาษ มีวิวัฒนาการครั้งแรกใน รูปของใบสัญญาจากการรับฝากทองคำและสมบัติกับรัฐบาลประเทศอังกฤษในสมัยราชวงศ์สจ็วต ต่อมาใช้ใบสัญญาซึ่งเรียกว่าใบรับฝากโลหะของช่างทองและพ่อค้าซึ่งสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ ใบรับฝากโลหะ มีชื่อเรียกว่า บัตรธนาคาร ( Bank Notes ) หรือเงินกระดาษ ช่างทองและพ่อค้ามีการดำเนินธุรกิจเป็นนายธนาคารวิชาการเงินส่วนบุคคล
4. เงินเครดิต หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าใกล้เคียงกับเงินสดเช่นเงินฝากธนาคาร เช็คซึ่งทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินโดยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ธนบัตร เงินเครดิตที่ใช้เป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยน แบ่งได้ 2 ชนิด
1. เงินเครดิตทำด้วยโลหะ
2. เงินเครดิตทำด้วยกระดาษบทบาทของเงิน-ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว- เป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรและกระจายเงินทุนไปยังหน่วยเศรษฐกิจ - เป็นเครื่องมือในการสะสมความมั่งคั่งทำให้เกิดการกระจายรายได้ของประชาชน
ความสำคัญของเงินที่มีต่อบุคคล
1. ด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค = เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. ด้านความเจริญทางเศรษฐกิจของตน = การเพิ่มขึ้นของรายได้
3. ด้านการออม = การเก็บเงินจากส่วนที่เหลือใช้จ่ายจากรายได้ของตน
4. ด้านการตัดสินใจลงทุน = เกิดผลตอบแทนคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไป
5. ด้านการวางแผนทางการเงิน = การออมเงินและการลงทุน



หน่วยที่2

***************************************************
การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
1.ความหมายของการวางแผนทางการเงิน
2.ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงิน
3.ปัจจัยในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
4.การจัดทำงบประมาณการเงิน
5.หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณการเงิน
6.ประโยชน์ของงบประมาณการเงิน
7.การจัดทำแผนการใช้จ่าย

การวางแผนทางการเงิน

- การเตรียมการในการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมกับรายได้
การวางแผนทางการเงิน
-การบริหารการเงินส่วนบุคคล
-เป็นการจัดระเบียบทางการเงินด้วยการหารายได้และใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน
ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงิน
1.ทำให้มีความรอบคอบในการใช้เงิน
2.ทำให้รู้จักใช้เงิน
3.เกิดการบริหารทางการเงิน
4.ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
5.มีหลักเกณฑ์ในการใช้จ่ายเงิน
6.ทำให้ระบบเศรษฐกิจมั่นคง

ปัจจัยในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
1. การหารายได้-รายรับที่ได้มาจากการประกอบอาชีพ/การทำกิจกรรมต่างๆ
2. การใช้จ่ายหรือรายจ่าย-ค่าใช้จ่ายที่ถูกจ่ายออกไป
3. การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน -ผลตอบแทนที่เกิดจากสิทธิครอบครองทรัพย์
4. การออม-รายได้ – รายจ่ายการจัดทำงบประมาณ
การเงินงบประมาณ หมายถึง การประมาณการรายได้และการประมาณการใช้เงินโดยการคาดคะเนเป็นตัวเลข ( การจัดระเบียบข้อมูลทางการเงิน )

วัตถุประสงค์
*เพื่อควบคุมการใช้จ่ายให้เหมาะสมสอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
*ใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การใช้จ่ายอยู่ภายในขอบเขตของรายได้และสามารถจัดสรรเพื่อการออมได้เหมาะสมระยะเวลาจัดทำงบประมาณการเงินรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี / นิยมจัดทำในระยะสั้นๆ

หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ
v งบประมาณการเงินควรทำเป็นแบบง่ายในการประมาณการตัวเลข
v ต้องถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและบุคคลในครอบครัว
v การประมาณการตัวเลขการใช้จ่ายต้องเหมาะกับรายได้และการครองชีพ
v ควรมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตามเศรษฐกิจขั้นการจัดทำงบประมาณการเงินการประมาณการรายรับ -รายรับประจำรายรับอื่นๆที่ไม่มีความแน่นอนการประมาณรายจ่าย -ค่าใช้จ่ายประจำ-ค่าใช้จ่ายผันแปรการสรุปงบประมาณ -ประมาณการรายรับ – ประมาณการรายจ่าย

ประโยชน์ของการทำงบประมาณการเงิน
1. ช่วยให้มีการใช้จ่ายภายใต้รายรับที่มีอยู่
2. ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
3. ช่วยจัดลำดับการใช้จ่ายเงิน
4. นำมาใช้เปรียบเทียบกับรายรับและรายจ่ายจริง
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน
กำหนดรายจ่ายด้วยตัวเลขอย่างมีเหตุผล
กำหนดแผนรายจ่ายตามสภาพความเป็นจริงคำนึงถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในการกำหนดรายจ่ายกำหนดเงินคงเหลือไว้ในแผนการใช้จ่าย
วิธีจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน
ใช้หลักเกณฑ์ตามขั้นตอนของการทำงบประมาณแต่แสดงข้อมูลยอดเงินคงเหลือ


ตัวอย่าง
เปรียบเทียบการจัดทำงบ
ประมาณการเงินกับแผนการใช้จ่ายเงิน
งบประมาณการเงินสำหรับระยะเวลา 1 เดือน
ประมาณการรายรับบาท
เงินเดือนสุทธิ...........................................23,000
ค่าล่วงเวลา................................................5,000
................................................................28,000
ประมาณการรายจ่าย
รายจ่ายประจำ
ค่าเบี้ยประกันชีวิต........................6,000
รายจ่ายผันแปร
ค่าอาหาร.....................................8,000
ค่าพาหนะ....................................2,000
ค่าเสื้อผ้า.....................................3,000
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ...............................1,000...14,000รวม...........................................................20,000
รายรับสูงกว่ารายจ่าย...................................8,000
................................................................28,000
ตัวอย่าง
เปรียบเทียบการจัดทำ
งบประมาณการเงินกับแผนการใช้จ่าย
แผนการใช้จ่ายเงิน
สำหรับระยะเวลา 1 เดือน
รายได้ บาท
เงินเดือน........................................23,000
รายได้อื่นๆ.......................................5,000 ..28,000
รายจ่ายค่า
เบี้ยประกันชีวิต..................................6,000
ค่าอาหาร..........................................8,000
ค่าพาหนะ.........................................2,000
ค่าเสื้อผ้า..........................................3,000
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ....................................1,000..20,000
ยอดเงินคงเหลือ.............................................8,000

4 ความคิดเห็น:

(J)(I)(N)(Z) กล่าวว่า...

อยากได้เนื้อหาของ

ประเภทของเงินเครดิต
-เงินเครดิตในระบบธนาคารพาณิช

-เงินเครดิตในสถาบันการเงิน

ต้องการศึกษาหามีเนื้อหาดีๆๆติดต่อกลับมาด้วยนะคะ

ด่วนที่สุดเลยยิ่งดีคะ

Eartz IST, MUT กล่าวว่า...

อยากได้ เนื้อหา เกี่ยวกับเรื่อง ประเภทของเงินเครดิตจากระบบธนาคารพานิช อ่ะ คับ อยากได้ ไปทำรายงาน อ่ะคับ หา ยากมากเรย คับ

อนัญญา นิเทศศิลป์ กล่าวว่า...

ดั้ยทำการบ้านจากที่อ.หั้ยก็มาดูรายละเอียดที่นี่ ชอบค่ะ

sai lollipop กล่าวว่า...

อยากได้เนื้อหาของเรื่องการออมมากๆ โดยเฉพาะเรื่อง

ความเป็นมาอ่ะครับ

เพราะหาตามเว็บอื่นๆ แล้วก็ไม่เจอ

เลยอยากจะขอจากอาจารย์